Pages - Menu

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การคิดมูลค่าเงินหักอัตราเงินเฟ้อ

คงได้ยินกันมาบ้างว่าเงินในอนาคตจะมีค่าน้อยกว่าปัจจุบัน คงจะงง ๆ  กัน จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรยาก ลองคิดกันดูนะครับว่า เมื่อซัก10 ก่อน เรายังหาข้าวตามสั่ง หรือก๋วยเตี๋ยวข้างทางทั่ว ๆ ไปกินกันได้ที่และ 20-25 บาท แต่ปัจจุบัน 30 ก็เริ่มหากินยาก  ง่าย ๆ เลย ถ้าเรามีเงิน100 บาทเมื่อ 10 ปีก่อน เราสามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 5 ชาม แต่ปัจจุบัน 100 บาทเราซื้อได้แค่ 3 ชามกว่า ๆ แสดงว่าเงินเรามีมูลค่าน้อยลง หรือ คุณค่าของเงินน้อยลง
อ้าว แล้วเราจะเอาอะไรมาคิด หรือคำนวณยังไง จริง ๆ แล้วก็มีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมและค่อนข้างวัดได้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดก็คือการเอาอัตราเงินเฟ้อมันคิดลด ซึ่งอัตราเงินเฟ้อจะประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทยโดยมากอยู่ที่ 3-5% เริ่มฟังดูยุ่งยาก แต่ในความเป็นเราคิดในแง่ร้ายไว้ก่อนเลย จับ 5% มาคิดได้เลย ถ้าปีไหนเฟ้อน้อยกว่านี้ถือเป็นกำไรก็แล้วกัน
วิธีคิดง่าย ๆ คือ เอาเงินเฟ้อในแต่ละปีไปหารออกจากเงินต้น เช่น เงินต้น 100 เก็บไว้เฉย ๆ 2 ปี อัตราเงินเฟ้อคิดลดในที่นี้ 5%ก็แล้วกัน
ในปีที่
1เอา 100*(1-0.05) ก็จะได้ 95
ปีที่
2 เอา 95*(1-0.05) ก็จะได้ 90.25
แสดงว่า 100 บาท เก็บไว้เฉย ๆ เป็นเวลา 2 ปี มูลค่าของเงินจะเหลือเพียง 90.25 บาท เมื่อเทียบกันมูลค่าปัจจุบัน อ้าวแล้วถ้า 10 ปี บวก ลบ คูน หาร กันเยอะแยะไม่หมดเหรอ เอาสูตรไปเลยแล้วกัน

มูลค้าของเงินในปีที่ต้องการ = เงินต้น*(1-อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปี)จำนวนปี

ง่าย ๆ เลย ถ้าเงิน 100 บาท เก็บไว้ 10 ปี อัตราเงินเฟ้อ5% ก็จะได้

                      100*(1-0.05)10 = 100*0.598
                                                           
= 59.8 บาท

สังเกตุได้ว่าเงิน 100 บาท เก็บไว้ 10 ปี มูลค่าเสื่อมลงเหลือแค่  59.8 บาท (เมื่อเทียบกับมูลค่าปัจจุบัน) แต่ในทางกลับกัน ถ้าไม่ใช่เงินในมือเรา แต่ถ้าเราเป็นหนี้ หนี้สินเราก็จะลดลงด้วย แล้วเจ้าหนี้เรารู้ข้อนี้มั๊ย แน่นอนครับว่ารู้ยิ่งกว่าเราอีก และก็แน่นอนอีกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนมากจะเกิน 10% อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราคงไม่ต้องห่วงเลยว่า  เจ้าหนี้จะขาดทุน 555 หรืออีกแนวคิดหนึ่ง

เมื่อเรารู้แล้วว่าแต่จะปีแต่ละวัน มูลค่าเงินของเราลดลงเรื่อย ๆ แล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ทำไงดี ตอบเลยไม่ต้องทำไงครับ แต่ทำงานของเราในหน้าที่ให้ดี แล้วบริษัทจะมีกำไร แล้วก็จะเอามาขึ้นเงินเดือนให้เรา ซึ่งอย่างน้อย ๆ ก็ควรขึ้นเงินเดือนให้เราซัก 5% ต่อปีนะครับ ใครได้เยอะกว่าก็ยินดีด้วย 

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การคิดอัตราดอกเบี้ยทบต้น

มีหลาย ๆ ครั้งที่ได้ยินความสงสัยว่าเวลาเราฝากเงิน หรือกู้เงิน จะมีอัตราดอกเบี้ยทบต้น มันคิดยังไง ง่าย ๆ เลย หลักการคือ ถ้าเงินฝาก 100 บาท ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ผ่านไปปีแรก จะได้ดอกเบี้ย 100x1/100 =1 บาท แล้วมารวมกับเงินต้น 100 ก็จะได้ 101 บาท ต่อมีปีที่2 ก็ต้องเอาเงินต้นเป็น 101 ไปคิดดอกเบี้ย 1%  ก็จะได้ 101x1/100 = 1.01 บาท เอาไปรวมกับเงินต้น 101+1.01=102.01 บาท  หลักการไม่ยากแต่ถ้าจะคิดดอกเบี้ยทบต้น หลาย ๆ ปี คงจะบวกลบกันเยอะแยะไม่หมด เอาสูตรไปเลยแล้วกัน


ตัวอย่าง
เงินต้น 100 บาท ฝากเป็นเวลา 6 ปี อัตรดอกเบี้ย 1% ต่อปี จะได้
=100*(1+1/100)6
=100*1.06152
=106.152
บาท

ดังนั้น ถ้าฝากเงิน100 บาท เป็นเวลา6 ปี ที่อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี จะได้เงินต้นรวมดอกเบี้ยเป็นเป็น 106.152 บาท
แน่นอนกว่า ถ้าจะคิดอัตราดอบเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน ก็แค่เปลี่ยนตรงจำนวนปี เป็นตัวเลขจำนวนเดือนได้เลย นอกนั้นก็ใส่เหมือนเดิม หรือจะเอาไปคิดอัตราการกู้ หรือว่ายอดหนี้ ของเราก็ได้ ว่าถ้าดอกเบี้ยเท่าไหร่ จะเป็นยอดหนี้รวมเท่าไหร่ แต่สำหรับยอดหนี้คงไม่ต้องคิดมาก เพราะ เราก็คิดง่าย ๆ เลย คือเอายอดผ่อน+เงินดาวน์+ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ  ก็จะได้ยอดเงินที่เราต้องจ่ายรวมดอกแล้ว แต่ถ้าเลือกได้ก็ไม่เป็นหนี้ดีกว่านะครับ 5555

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การหามูลค่าปัจจุบัน

เนื่องจากค่าของเงินในอนาคตไม่เท่ากับค่าเงินในปัจจุบัน การจะติดสินใจต่าง ๆ จึงต้องมีการคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน หรือมีการคิดลด (Discont) ค่าของเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่าในเวลาเดียวกัน หรือคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันก่อน(Present Value) ตัดสินใจลงทุน จะเป็นตัวช่วยตัวหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่า โครงการใดคุ้มค่าในการลงทุกมากกว่า โดยการหา
มูลค่าปัจจุบันของกำไรสุทธิ : Net Present Value :NPV ที่มีค่าสูงสุด โดยมูลค่าปัจจุบันของกำไรสุทธิคำนวณได้โดย


โดยที่
E(CF) = กระแสเงินสดที่คาดหมาย (Expected Cash Flow) และกระแสเงินสดหมายถึง รายรับ–รายจ่าย(ต้นทน)
C0 = อัตราคิดลด (Discount Rate) ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นตัวแทน(บางกรณีอาจใช้อัตราเงินเฟ้อก็ได้)
ตัวอย่าง
นายสมชายเจ้าของบริษัทหนึ่ง กำลังจะตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการบางอย่าง ซึ๋งใช้เงินลงทุน 10 ล้านบาท เป็นเวลา 5 ปี โดยประเมินเบื้องต้นแล้วมีโครงการ 2 โครงการมาให้เลือก และมีรายได้ที่คาดว่าจะได้รับดังนี้
ปีที่
โครงการA
โครงการB
1
2
3
4
5
1
5
4
3
2
1
2
3
4
5

­จากตัวเลขรายได้จะเห็นได้ว่า ลงทุนเท่ากันที่ 10ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี ได้กำไรเบื้องต้นที่รวม 15 ล้านบาทเท่ากัน เราจึงจำเป็นต้องเลือกโครงการที่ได้ประโยชน์กับกิจการสูงสุด โดยใช้ NPV เป็นตัวเลือกหนึ่งในการช่วยตัดสินใจ โดยสมมุติให้อัตราคิดลดที่ 10% หรือ R=10/100=0.1


โครงการ A


= 0.909+4.132+3.00+2.04+1.24-10
= 1.321
ล้านบาท

โครงการ B

= 0.909+1.652+2.254+2.732+3.105-10
= 0.652
ล้านบาท

จากการคิดค่า NPV ทั้ง 2 โครงการแล้วจะได้ว่า เมื่อใส่การคิดลด จะเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หรือมูลค่าเงินเฟ้อ ก็แล้วแต่กรณี แล้วแต่ลักษณะของการลงทุก แต่สุดท้ายจะได้ว่า กำไรที่ได้จากการลงทุนด้วยเงิน 10 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี ทั้งสองโครงการจะมีกำไรเป็นตัวเงินเท่ากัน แต่เมื่อเอากำไรที่ประเมินได้มาคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว โครงการA จะมีมูลค่าของกำไรมากกว่า ดังนั้นในกรณีนี้จึงควรเลือกลงทุนในโครงการA